Hischool การช่วยเหลือและส่งเสริมการจ้างงานผู้พิการทางการเคลื่อนไหวทางร่างกาย โดย บริษัท แบ่ง-ปัน-ให้(วิสาหกิจเพื่อสังคม)จำกัด เป็นธุรกิจเพื่อสังคม (SOCIAL INNOVATION START UP) เป็นการทำธุรกิจที่อาศัยนวัตกรรม และต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยั่งยืน คือธุรกิจเกิดขึ้น เพราะผู้ก่อตั้งมีความเห็นว่าธุรกิจมีความยั่งยืนได้ก็ต่อเมื่อ ธุรกิจและสังคมได้สนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้อย่างแนบแน่น และเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย จนสามารถนำสินค้าหรือบริการของสังคมท้องถิ่น กระจายออกไปสู่ตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือ Leap up สังคมให้มีความยั่งยืนต่อไปได้ จึงให้คำจำกัดความว่า “เป็นธุรกิจที่ช่วยแก้ปัญหาสังคม” และการที่สังคมให้การสนับสนุน ก็จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีต่อความมั่นคงของธุรกิจในระยะยาวนั่นเอง จึงถูกจัดตั้งเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร เหมือนบริษัทฯ โดยทั่วไปแต่ได้รับการรับรองให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยมีข้อแตกต่างที่เป็นจุดหลักของธุรกิจโดยทั่วไปคือผลกำไรที่ได้มานั้นจะกลับคืนไปสู่สังคมทุกภาคส่วน เพราะฉะนั้น สิ่งที่แตกต่างคือเจตนารมย์ของผู้ก่อตั้งและหุ้นส่วน ต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ด้อยโอกาส ได้เกิดการสร้างงานให้ชุมชนในท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการมีผลกำไรในทางธุรกิจ จึงเลือกใช้โมเดล Social Enterprise ให้มีผลตอบแทนต่อสังคมใน 5 มิติ ประกอบด้วย 1. ร้านค้า : ช่วยเหลือเกื้อกูลให้ร้านค้าสามารถมีช่องทางจำหน่ายแบบออนไลน์เข้าถึงผู้บริโภคได้ 2. ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส 3. กลุ่มขนส่งและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 4. กลุ่มเกษตรกร และประมงพื้นบ้าน 5. นักเรียนและโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สปพ.สมุทรสาคร รวม 24 โรงเรียน แต่โดยแท้จริง โมเดลหลักของธุรกิจของทุกวันนี้ คือ การช่วยเหลือและส่งเสริมการจ้างงานผู้พิการทางการเคลื่อนไหวทางร่างกายนั้นเอง
โลกของความเป็นจริงการจ้างงานผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในประเทศไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายทั้งในเชิงโครงสร้าง สังคม และการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ แม้จะมีนโยบายที่สนับสนุนการจ้างงานผู้พิการ เช่น มาตรา 33 และ 35 ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แต่การนำไปสู่การปฏิบัติจริงกลับยังห่างไกลจากเป้าหมาย โดยมีสาเหตุหลักดังนี้: -ความเข้าใจของนายจ้างต่อศักยภาพของผู้พิการยังคงอยู่ในกรอบจำกัดและตีตรา -สถานประกอบการจำนวนมากยังไม่มีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเข้าถึงของผู้พิการ -ผู้พิการขาดระบบสนับสนุนการฝึกทักษะอาชีพที่เชื่อมโยงกับตลาดแรงงานจริง -ผู้พิการจำนวนมากยังคงไม่มีโอกาสในการมีรายได้อย่างมั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน และ ช่องว่างในการวัดและจัดการผลกระทบ แม้หลายโครงการในอดีตจะมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสทางอาชีพให้แก่ผู้พิการ แต่กลับขาดระบบในการวัดและจัดการผลกระทบที่เป็นระบบ (Impact Measurement and Management – IMM) ส่งผลให้ไม่สามารถประเมินความเปลี่ยนแปลงเชิงลึกที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ช่องว่างหลัก ได้แก่: 1.ขาดเครื่องมือ IMM ที่เป็นระบบ 2.โครงการส่วนใหญ่มุ่งวัดเฉพาะ “ผลผลิต” (Outputs) เช่น จำนวนผู้เข้าร่วม แต่ไม่สามารถติดตาม “ผลลัพธ์” (Outcomes) และ “ผลกระทบ” (Impacts) ในระยะยาว 3.ไม่มีตัวชี้วัดที่สะท้อนคุณค่าทางสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านความภาคภูมิใจ ความสามารถพึ่งพาตนเอง หรือการยอมรับจากสังคม 4.ขาดการติดตามผลระยะยาว (Longitudinal Tracking)ไม่มีระบบเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าผู้พิการยังคงมีงานทำหรือได้รับผลกระทบอย่างไรหลังโครงการสิ้นสุด 5.ไม่มีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางสังคม (SROI)ภาคีที่เกี่ยวข้องไม่สามารถประเมินความคุ้มค่าเชิงสังคมและเศรษฐกิจจากการลงทุนในโครงการได้ชัดเจน 6.ไม่มีการใช้ผลลัพธ์ในการปรับปรุงนโยบายและขยายผล (Feedback Loop)ขาดระบบป้อนกลับที่นำข้อมูลผลกระทบไปพัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการแก้ไข เพื่อให้โครงการสามารถบรรลุผลกระทบทางสังคมได้อย่างแท้จริง ควรมีการพัฒนาและบูรณาการระบบ IMM ดังนี้: 1.จัดทำ Theory of Change และวางกรอบ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ระดับ Output, Outcome, Impact 2.เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น แบบสอบถาม รายงานรายได้ การสัมภาษณ์ชีวิตจริง 3.วิเคราะห์ความคุ้มค่าด้วยโมเดล SROI (Social Return on Investment) 4.สร้าง Dashboard การติดตามผลแบบ real-time และ Feedback Loop กับผู้มีส่วนได้เสีย 5.นำข้อมูลผลกระทบมาใช้กำหนดนโยบายและแนวทางการขยายผลอย่างยั่งยืน
: 12
: 500,000.00
: นายอภิชาติ จันทร์ทองแท้
(กรรมการผู้จัดการ)
นางสาวมณีรัตน์ บุญสินธุ์
(ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ)